การสร้างส่วนผสมกระบวนการดำเนินงานจากการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และ/หรือความร่วมมือกับภาครัฐและเอกชน – Linking Social Capital

ปัจจัยและกลไกที่นำไปสู่ความสำเร็จของกองทุนสวัสดิการชุมชน-องค์กรชุมชนที่เป็นกลไกร่วมรัฐ

by sirdi
0 comment

ปัจจัยและกลไกที่นำไปสู่ความสำเร็จของกองทุนสวัสดิการชุมชน-องค์กรชุมชนที่เป็นกลไกร่วมรัฐ

ตัวอย่างความสำเร็จ

ลำดับ องค์กร/จังหวัด ปีก่อตั้ง

วงเงินสะสมทรัพย์ (บาท)

สมาชิก

% ตำบล

ผลงานเด่น-ความสำเร็จ
1 กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลห้วยงู จังหวัดชัยนาท 2554 N/A 1,388 23.6 การนำเอาเทคโนโลยี-หุ่นยนต์ดินสอ เข้ามาร่วมบริการงาน ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดติดเตียง-เพิ่มความสามารถในการ เข้าถึงบริการของสมาชิก ในขณะเดียวกัน ก็เป็นตัวอย่าง ความสำเร็จของการทำงานเชิงบูรณาการขององค์กรชุมชนและหน่วยงานภาครัฐในระดับพื้นที่ตำบล
2 กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลท่างาม จังหวัดสิงห์บุรี 2551 11,252,304.57 1,524 36.0 การประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน การส่งเสริม อาชีพ/สร้างรายได้ของสมาชิก (เกษตรกรรม-การตลาด) และการสร้างช่องทางของรายได้กองทุนสวัสดิการจาก % ของวิสาหกิจชุมชนที่ริเริ่มโดยองค์การบริหารส่วนตำบล
3 กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม 2550 14,030,650.77 2,521 36.8 การนำเอาองค์กรชุมชนไปสร้างความร่วมมือกับจังหวัด เพื่อแก้ปัญหาที่ดินทำกิน (การส่งเสริมอาชีพ/เศรษฐกิจ) ซึ่งเป็นความขัดแย้งที่มีมาก่อนให้เป็นที่ยุติลง และ สร้างสรรค์กระบวนการทำงานที่สร้างอาชีพ สร้างรายได้ให้กับองค์กรสมาชิก (วิสาหกิจชุมชน)
4 กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลห้วยเตย จังหวัดมหาสารคาม 2549 2,042,162 1,325 28.4 การแก้ปัญหาคนจนในพื้นที่ด้วยการประสานความร่วมมือ กับองค์กร/โครงการต่าง ๆ ในพื้นที่ให้คัดเลือกคนใน ครอบครัวของคนจนจากการสำรวจข้อมูลในระดับตำบล (12 ครัวเรือน-ปี พ.ศ.2561) สามารถจัดการให้มีการว่าจ้าง คนเหล่านั้นในอัตรา 7,500 บาท/เดือน พร้อมกันนั้น ก็ให้ สมัครเป็นสมาชิกของกองทุนสวัสดิการชุมชน (โดยการประสานงานและหักเงินเป็นเงินออมโดยองค์กรที่ว่าจ้าง)
5 กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลโพนทอง จังหวัดหนองคาย 2552 N/A 1,978 30.5 บูรณาการองค์กรชุมชนที่ทำงานในด้านการเงินเข้าด้วยกัน แล้วไปซื้อหนี้จากธนาคารออมสินมาบริหารจัดการด้วย วิธีการขององค์กรชุมชน-สามารถไถ่ถอนโฉนดที่ดินของ สมาชิกจำนวน 76 ราย จากธนาคาร (วงเงินเป็นหนี้ 17.5 ล้านบาท) ในจำนวนนี้ มีการจัดการหนี้เรียบร้อยแล้ว 53 ราย (วงเงินเป็นหนี้ 12.5 ล้านบาท)
6 กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล คลองหินปูน จังหวัดสระแก้ว 2551 N/A 3,500 52.1 ก่อนหน้าที่จะมีการจัดตั้งกองทุนสวัสดิการชุมชน ก็มีการ รวมตัวของสมาชิกในชุมชนนี้เป็นกองทุนแก้ปัญหาที่ดิน และมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนมาก่อนแล้ว การทำงานของ องค์กรในรูปแบบต่าง ๆ รวมทั้งการจัดตั้งสหกรณ์ การเกษตร ได้มีการใช้เป็นเครื่องมือ/กระบวนการในการแก้ปัญหาความเดือดร้อนเรื่องที่ดินทำกิน การส่งเสริมความรู้และทักษะการประกอบอาชีพ การประสานเพื่อใช้ ประโยชน์ในที่ดินขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และเช่า ที่ดินจากกรมธนารักษ์ รวม 322 ไร่ สำหรับสมาชิกใช้เป็นที่ทำกิน 28 ครัวเรือน และใช้เป็นที่อยู่อาศัย 60 ครัวเรือน
7 กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบล หนองม่วง จังหวัดสระแก้ว 2551 N/A 6,020 (จาก 14 หมู่บ้านในหลาย ตำบล) การลงทุนสร้างร้านค้าชุมชนและจัดทำแผงค้าสำหรับให้เช่า ค้าขาย จำนวน 40 แผง และเป็นรายได้สำหรับกองทุน สวัสดิการชุมชน ในขณะเดียวกัน ก็ส่งเสริมให้สมาชิกของ กองทุนฯ ใช้เป็นช่องทางขายผลผลิตทางการเกษตร และ สร้างอาชีพรายย่อยเพื่อสนองตอบต่อตลาด เช่น การเลี้ยงปลา และจิ้งหรีด ฯลฯ
8 กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลดงดิน แดง จังหวัดลพบุรี 2551 2,776,329.89 608 13.1 ประสานความร่วมมือระหว่างองค์กรชุมชน 2 รูปแบบ คือ กองทุนสวัสดิการชุมชน (ระดมเงินออม/บริการสวัสดิการ) กับวิสาหกิจชุมชน (บริการส่งเสริม และบริการรับฝากและ กู้ยืมเพื่อการต่าง ๆ ในการประกอบอาชีพ-วิสาหกิจธนาคาร หมู่บ้านหน่วยประคอง) ด้วยการสนับสนุนสินเชื่อให้สมาชิก เจาะบาดาลและจัดระบบน้ำเพื่อการเกษตร จำนวน 87 บ่อ ทำให้สมาชิกมีผลผลิตที่เพิ่มมากขึ้น มีรายได้เพิ่มขึ้น (เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 20,000 กว่าบาทต่อรายต่อปี) ในจำนวนนี้ มีสมาชิกของกองทุนสวัสดิการชุมชนที่สามารถปลดหนี้ จากการกู้ยืมแบบหนี้นอกระบบ เป็นเงิน 1.4 ล้านบาท
9 กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลบ้านส้อง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 2553 14,328,280.76 4,118 23.5 การระดมรายได้เป็นทุนสำหรับกองทุนสวัสดิการนี้มี 5 ช่องทางด้วยกัน คือ (1) การเก็บออมจากสมาชิก (2) การสมทบของเทศบาลบ้านส้อง (3) การสมทบของสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (4) การสมทบของบริษัท ห้างร้าน และเครือข่ายภาคประชาชน และ (5) การเปิดรับการบริจาคทั้งจากในพื้นที่และทั่วไป
10 กองทุนสวัสดิการชุมชนตำบลฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช 2554 5,687,822.40 1,859 67.0 การทำงานบูรณาการกับองค์กรชุมชน/องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น ในระดับพื้นที่เพื่อสนับสนุนงานบริการสวัสดิการสังคมให้กับสมาชิก (คนเดียวกัน)

ที่มา: พัฒนาจาก สุนทร คุณชัยมัง และคณะ (2566). ปัจจัยและกลไกการสร้างสรรค์นวัตกรรมสังคมที่ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานรากของไทย.

 

Related Posts

Leave a Comment