กิจการของ Digital Green เป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้นแบบองค์กรพัฒนาเอกชน (Non-Government Organizations: NGOs) ริเริ่มขึ้นใหม่แบบ Startup ของคนรุ่นใหม่ ที่นำเอาศักยภาพและความสามารถของการให้บริการต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมของ ICT & Social media ไปสร้างเป็นความสามารถใหม่ของสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้บริการข่าวสาร ข้อมูล และความรู้ด้วยการสรุปสาระสำคัญของการสื่อสารแบบสั้น แล้วจัดทำเป็น Video เพื่อการเผยแพร่ที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรรายย่อย เป็นกิจการที่ให้บริการประชาชน ครอบคลุม 6,500 หมู่บ้านทั้งในอินเดีย เอธิโอเปีย กานา แทนซาเนีย ไนเจอร์ และโมซัมบิก อันเป็นบริการที่มุ่งนำเอาเทคโนโลยี และองค์ความรู้ไปใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญของการเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตของเกษตรกรรายย่อย (Smallholder) การดำเนินงานของ Digital Green เป็นการจัดการแบบประสานการรับการสนับสนุนจากภาครัฐ และเอกชน และเป็นการดำเนินงานร่วมกันแบบ B2B เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ทั้งการปรับปรุงและพัฒนากิจกรรมทางการเกษตร การอยู่ร่วมกันของชุมชน และคุณภาพชีวิต
กิจการของ Digital Green เป็นตัวอย่างของกิจการที่เป็น Startup & Social Entrepreneurship ที่ริเริ่มขึ้นโดย Rikin Gandhi ซึ่งจบการศึกษาระดับปริญญาตรีด้านคอมพิวเตอร์จาก Carnegie Mellon University ปริญญาโทด้านวิศวกรรมจาก MIT มีผลงานการศึกษาและสิทธิบัตรร่วมกับ Oracle และได้พัฒนาโครงการ Digital Green เพื่อสร้างตลาดใหม่ให้กับระบบเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นงานตามโครงการของ Microsoft Research India’s Technology
ผลงานของ Digital Green ที่รวบรวมสาระสำคัญของปัญหา วิธีการ และตัวอย่างความสำเร็จที่จัดทำเป็น case studies & short video ที่มีอยู่ ทั้งสิ้น 3,500 เรื่อง 28 ภาษา สามารถสื่อสารทางตรงให้กับประชาชนที่พื้นที่ชุมชนไปแล้วมากกว่า 500,000 ราย 6,500 หมู่บ้านของประเทศต่าง ๆ ข้างต้น เป็นการจัดการข้อมูลข่าวสารและความรู้ไปยังคนที่เข้าไม่ถึงการเรียนรู้และประสบการณ์ในการจัดการเศรษฐกิจ และเป็นที่ยอมรับกันว่า การสื่อสารในรูปแบบนี้มีต้นทุนที่ต่ำกว่าแบบเดิม 10 เท่า และสร้างความสามารถในการเข้าถึงได้มากกว่าแบบเดิม 7 เท่า (จากการศึกษาผลการดำเนินงานในระยะเวลา 13 เดือน ที่อินเดีย) ยิ่งไปกว่านั้น การสื่อสารดังกล่าวนี้ ยังถือได้ว่า เป็นการปรับเปลี่ยนวิถีของการสื่อสารที่สร้างการเข้าถึงชุมชนในเรื่องอื่น ๆ ได้อีก เช่น เรื่องแม่และเด็ก การตั้งครรภ์ การจัดการสุขภาวะเบื้องต้น-การล้างมือ อันเป็นกระบวนการที่สำคัญของนวัตกรรมด้านการสื่อสารและการจัดการสาธารณสุข
Lesson-Learned Studies
- Video + Short + YouTube (Website) บทบาทใหม่ที่เข้ามาร่วมสนับสนุนการทำงานของ Green Digital และเปลี่ยนบทบาท Supporting Organizations ที่ต้องการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ที่เดิมจะต้องจัดการด้วยกระบวนการอบรม สัมมนา เอกสารสิ่งพิมพ์ ฯลฯ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้เวลาและต้นทุนการใช้จ่ายที่มากกว่า
- บทบาทที่เข้ามาร่วมงานเป็นองค์กรสนับสนุนการพัฒนาชุมชน ที่ไม่ใช่รัฐ ไม่ใช่บริษัทเอกชน ไม่ใช่ NGOs แบบเดิม
- KM driving-forces ตัวขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและยั่งยืน (และมีส่วนที่ยึดโยงเข้ากับความเป็นไปของกระบวนการเรียนรู้ด้วยตัวเองของผู้คนในสังคม และ positive of socialization
Reference
https://www.digitalgreen.org/wp-content/uploads/2017/06/intellecap_case_study.pdf
https://www.digitalgreen.org/evidence/
https://www.spring-nutrition.org/about-us
เรียบเรียงโดย
ดร.สุนทร คุณชัยมัง
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนานวัตกรรมสังคม [Social Innovation Research and development
Institute. (SIRDI)] วิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต